ระบบสุริยะจักรวาล(Solar System)
กำเนิดระบบสุริยะ

ระบบสุริยะเกิดจากกลุ่มก๊าซและฝุ่น
ที่เรียกว่า โซลาร์เนบิวลา (Solar Nebula)
เมื่อประมาณ 4,600
ล้านปีที่ผ่านมา
กลุ่มฝุ่นก๊าซยุบตัวหมุนเป็นรูปจานที่ใจกลางของกลุ่มก๊าซเกิดเป็นดาวฤกษ์คือ ดวงอาทิตย์ ประมาณร้อยละ 99.8
ของมวลทั้งหมด
เศษฝุ่นและก๊าซที่เหลือจากการเกิดดาวฤกษ์ เคลื่อนที่อยู่ล้อมรอบ
เกิดการรวมตัวกันภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วง
กลายเป็นดาวเคราะห์และวัตถุท้องฟ้าในระบบสุริยะ
ระบบสุริยะ
ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets)
8 ดวงเรียงตามลำดับจากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร
ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
ดาวเคราะห์นั้นไม่มีแสงสว่างในตัวเอง
เราสามารถมองเห็นได้เนื่องจากพื้นผิวดาวสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์แล้วเข้าสู่ตาเรา
ดาวเคราะห์ทั้ง 8 สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ ดังนี้
1.แบ่งตามลักษณะกายภาพหรือลักษณะพื้นผิว
-ดาวเคราะห์ชั้นในหรือดาวเคราะห์แข็ง
(Inner or Terrestrial Planets) : จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์
ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เย็นตัวแล้วมากกว่า
ทำให้มีผิวนอกเป็นของแข็ง เหมือนผิวโลกของ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก
และดาวอังคาร
ซึ่งจะใช้แถบของดาวเคราะห์น้อย(Asteroid Belt) เป็นแนวแบ่ง
-ดาวเคราะห์ชั้นนอกหรือดาวเคราะห์ก๊าซ (Outer or Giant Gas Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เพิ่งเย็นตัว ผิวรอบนอกปกคลุมด้วยก๊าซมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน และฮีเลียม ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
2.แบ่งตามวงทางโคจร
โดยใช้วงโคจรของโลกเป็นเกณฑ์
สามารถแบ่งดาวเคราะห์ได้ ดังนี้
-ดาวเคราะห์วงใน
(Interior planets) หมายถึง
ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ
และดาวศุกร์
-ดาวเคราะห์วงนอก
(Superior planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดจากโลกออกไป
ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
ดวงอาทิตย์(The sun)

เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง
ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก
เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง
และพืชเปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล
ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือก
เป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรรอบดาราจักรประมาณ 225-250
ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที
หรือ 1 ปีแสง ทุกๆ 1,400 ปี
ดาวพุธ(Mercury)

ชื่อเรียก : เตาไฟแช่แข็ง
ลำดับ : อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด
ลักษณะ : เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก
และไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร
โครงสร้างภายในของดาวพุธ :
ประกอบไปด้วยแกนเหล็กขนาดใหญ่มีรัศมีประมาณ 1,800 ถึง 1,900 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชั้นที่เป็นซิลิเกต
(ในทำนองเดียวกับที่แกนของโลกถูกห่อหุ้มด้วยแมนเทิลและเปลือก) ซึ่งหนาเพียง 500ถึง
600
กิโลเมตร บางส่วนของแกนอาจจะยังหลอมละลายอยู่
ข้อมูลทั่วไป :
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
จึงปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าไม่ไกลจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในระบบสุริยะ มีแกนหมุนที่เกือบตั้งฉากกับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์
ดาวพุธหมุนรอบตัวเองช้ามาก โดยจะหมุนรอบตัวเองครบ 3 รอบเมื่อโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 2
รอบ ดาวพุธไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้ม
ทำให้พื้นผิวดาวพุธมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างมาก ตั้งแต่ –183
ถึง 427องศาเซลเซียส
บริวาร : ไม่มี
ดาวศุกร์(Venus)

ชื่อเรียก : ปรากฏให้เห็นในเวลาใกล้ค่ำเรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเรียกว่า "ดาวประกายพรึก"
เมื่อปรากฏให้เห็นในเวลารุ่งเช้า
ลำดับ : อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ลำดับที่ 2
มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6
ไม่มีดวงจันทร์บริวาร
ลักษณะ : คล้ายคลึงกับโลก
จนได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ฝาแฝดกับโลกของเรา
โครงสร้างภายในของดาวศุกร์ : ประกอบด้วย
แกนกลางที่ เป็นเหล็กมีรัศมีประมาณ 3,000 กิโลเมตร
ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร
และเปลือกแข็งที่ประกอบด้วยหินซิลิเกต
ข้อมูลทั่วไป :
สามารถมองเห็นพื้นผิวดาวศุกร์
ชั้นบรรยากาศที่หนาทึบทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกกักเก็บความร้อนไว้
ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงถึง 470°C จะเห็นได้ว่าพื้นผิวดาวศุกร์ร้อนกว่าพื้นผิวดาวพุธมาก
ทั้งๆ ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์กว่าดาวพุธถึงสองเท่า และอยู่ใกล้โลกมากกว่าดาวพุธ
เราจึงสังเกตเห็นดาวศุกร์สว่างจ้ากว่าดาวพุธมาก
มีความสว่างเป็นรองจากดวงจันทร์ในยามค่ำคืน
บริวาร : ไม่มี
โลก(The Earth)

เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
ชื่อเรียก : ดาวเคราะห์สีน้ำเงิน
ลำดับ : โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3
มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5
ลักษณะ : มีสัณฐานเป็นทรงกลม
ประกอบไปด้วยแก่นชั้นในที่เป็นเหล็ก ห่อหุ้มด้วยแก่นชั้นนอกที่เป็นของเหลว (Liquid) ประกอบด้วยเหล็กและนิเกิล
ถัดขึ้นมาเป็นชั้นแมนเทิลซึ่งเป็นของแข็งเนื้ออ่อนที่ยืดหยุ่นได้ (Plastic) ประกอบไปด้วย
เหล็ก แมกนีเซียม ซิลิกอน และธาตุอื่นๆ
ข้อมูลทั่วไป :
บรรยากาศของโลกประกอบด้วยไนโตรเจน 77
% ออกซิเจน 21% ที่เหลือเป็นอาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์
และน้ำ
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากเหนือขั้วโลกเหนือของโลกและดวงอาทิตย์
มีลักษณะการโคจรเป็นรูปวงรีใช้เวลาในการโคจร 1 รอบ ใช้เวลา 1 ปี
บริวาร : 1 ดวง คือดวงจันทร์
ดาวอังคาร(Mars)

ชื่อเรียก : เทพเจ้าแห่งสงคราม
หรือดาวเคราะห์สีแดง
ลำดับ :
ดาวอังคารอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 7
ลักษณะ : มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์
และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก
ข้อมูลทั่วไป : สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
มีบรรยากาศเบาบาง พื้นผิวเป็นหินสีแดง
เนื่องจากเกิดสนิมท้องฟ้าของดาวอังคารเป็นสีชมพูเพราะฝุ่นจากหินแดงนี้ผิวของดาวอังคารจึงเหมือนกับทะเลหินแดง
บริวาร : มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2
ดวง คือ โฟบอส และ ดีมอส
ดาวพฤหัสบดี(Jupiter)

ชื่อเรียก : โลกยักษ์ หรือดาวเคราะห์ยักษ์
ลำดับ :
ดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 1
ลักษณะ :
ดาวพฤหัสเป็นกลุ่มก้อนก๊าซหรือของเหลวขนาดใหญ่
ที่ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็งเหมือนโลก
ข้อมูลทั่วไป : ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 9.8 ชั่วโมง
ซึ่งเร็วที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1
รอบ ใช้เวลา 12 ปี
บริวาร : มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวารมากถึง 63 ดวง
ดาวเสาร์(Saturn)


ชื่อเรียก : เทพเจ้าแห่งการเกษตร
ลำดับ :
ดาวเสาร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 6 มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2
ลักษณะ : มีวงแหวนล้อมรอบ
ซึ่งวงแหวนของดาวเสาร์เป็นก้อนหินและน้ำแข็งสกปรก น้ำแข็งสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ได้ดี
เราจึงเห็นวงแหวนชัดเจน
ข้อมูลทั่วไป :
เป็นดาวเคราะห์สวยที่สุดเราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ
ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 10.2 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1
รอบใช้เวลา 29 ปี
บริวาร : มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 60 ดวง
ดาวยูเรนัส(Uranus)

ชื่อเรียก : ดาวมฤตยู หรือเทพเจ้าแห่งท้องฟ้า
ลำดับ :
ดาวยูเรนัสอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3
ลักษณะ : เป็นดาวเคราะห์แก๊สสีน้ำเงินเขียว
มีวงแหวนบาง ๆ ล้อมรอบ
นอกจากนี้ยังมีพื้นผิวและบรรยากาศคล้าย ๆ ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์
ดาวเนปจูน
ข้อมูลทั่วไป : หมุนรอบตัวเอง 1
รอบ เท่ากับ 17.8
ชั่วโมง และระยะ เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 165 ปี
บริวาร : มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 27
ดวง
ดาวเนปจูน(Neptune)

ชื่อเรียก : ดาวเกตุ
เทพเจ้าแห่งทะเลหรือดาวสมุทร
ลำดับ :
ดาวเนปจูนอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 8 มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4
ลักษณะ :
โครงสร้างมีความคล้ายคลึงกับกับดาวยูเรนัส ทุกประการ อาจเรียกว่าเป็น
ดาวคู่แฝดก็ได้ เพียงมีขนาดเล็กกว่าและมวลมากกว่า เป็นดาวเคราะห์แก๊สสีน้ำเงิน
ข้อมูลทั่วไป :
เป็นดาวเคราะห์ดวงสุดท้ายในระบบสุริยะ ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น
ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500
กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก
เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก
แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูนประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์
และใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ถึง 165 ปี
บริวาร : ดวงจันทร์ของดาวเนปจูนมีถึง 14
ดวง และ ไทรทัน(Triton) จัดว่าเป็นดวงจันทร์
ที่สวยงามและมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะเลยที่เดียว
ดาวพลูโต(Pluto)

เดิมเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9
ในระบบสุริยะ ดาวพลูโต
มีข้อแตกต่างจากดาวเคราะห์อื่นอย่างมาก ด้วยมีขนาดเล็ก มีวงโคจรแบบ Eccentric (เยื้องศูนย์กลาง
หรือคล้ายลูกเบี้ยว) รวมทั้งมีความเอียงเทลาด (Inclined) มากถึง 17 องศา ส่วนองค์ประกอบของดาวพลูโต เป็นหินและน้ำแข็ง
มีความต่างจากดาวเคราะห์ทั้ง 8
ดวงในระบบสุริยะ
เพราะเมื่อตรวจสอบแล้วปรากฏว่าเป็น ลักษณะแบบเดียวกับ ดาวหาง
บัดนี้ดาวพลูโตถูกกำหนดประเภทให้ใหม่ เป็น “ดาวเคราะห์แคระ”
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น